สมาธิมา ปัญญาเกิด มาสร้างสมาธิเพื่อผลการสอบที่ดีกันเถอะ

139137เด็กวันรุ่นในปัจจุบันโดยเฉพาะในประเทศไทยนั้นเป็น โรคสมาธิสั้นกันมาก สาเหตุอาจเกิดจากหลายปัจจัย เช่น การเลี้ยงดู ปล่อยดูโทรศัพท์ต้องแต่ยังเด็ก, ติดเกมส์ หรือ แม้กระทั้งใช้โทรศัพท์มือถือในปัจจุบัน หลอกล่อให้เราๆ ไม่สามารถจดจ่อทำอะไรได้ในระยะนานๆ หรือ ไม่มีสมาธินั้นเอง

เคยหรือไม่ ทำการบ้านไปซักพักก็เพิ่งมารู้ตัวว่าทำผิดข้อ เขียนผิดบ้าง คิดผิดบ้าง หรืออ่านหนังสือได้สองหน้า ก็รู้สึกอ่านต่อไม่รู้เรื่อง ถ้าน้องๆ ที่มีการเหล่านี้รู้ตัวรึป่าวคะ ว่ากำลังจะเป็นคนที่สมาธิสั้นแล้ว

อาการของสมาธิสั้น จะมีลักษณะอยู่ไม่นิ่ง ต้องกระดุกกระดิกอยู่ตลอดเวลา เจอสิ่งเร้าเล็กๆ น้อยๆ ก็กรูเข้าไปหา ปัจจุบันเด็กไทยมีอาการแบบนี้เยอะค่ะ เพราะเทคโนโลยีต่างๆ รวมถึงรูปแบบการใช้ชีวิตเปลี่ยนไป เรียกว่ามีอะไรน่าสนใจกว่าหนังสือกับการบ้านเยอะเลย เลยไม่ค่อยแปลกใจว่า ทำไมเด็กไทยทั้งเด็กมัธยมและพี่ๆ นักศึกษาสามารถอ่านหนังสือควบคู่ไปกับการเล่นเฟซบุ๊กได้

วิธีแก้ที่ดีที่สุด คือ การฝึกสมาธิเพื่อให้จิตสงบ สมองและจิตจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำ เรื่องของจิตนี้ถ้าเราพัฒนาไปเรื่อยๆ มันจะดีขึ้นแน่นอน แต่ปัญหาก็คือ แค่พูดว่า “สร้างสมาธิ” หลายคนก็ทำหน้าเบ้ เพราะคิดว่าต้องนั่งสมาธิจนเหน็บชา ขอบอกว่าการสร้างสมาธิไม่จำเป็นต้องนั่งสมาธิเพียงอย่างเดียวนะคะ แต่ยังมีวิธีอื่นๆ ที่ไม่ทำให้ชีวิตชิคๆ ของน้องๆ น่าเบื่อแน่นอน สรุปมาได้ 5 วิธี ดังน้ี้

1) อ่านบทความภาษาอังกฤษโดยไม่ต้องสนคำแปล

เทคนิคนี้ได้จากพี่คณะทันตะฯ จุฬาฯ ที่เคยสัมภาษณ์ค่ะ คอนเฟิร์มมาแล้วว่าได้ผลดี ฝึกทักษะในการอ่านภาษาอังกฤษเราได้ด้วย วิธีการง่ายๆ คือ หาหนังสือภาษาอังกฤษ จะเป็นหนังสืออะไรก็ได้ จากนั้นให้น้องๆ อ่านออกเสียงไปเรื่อยๆ โดยไม่ต้องแปลและไม่ต้องพยายามตีความความหมาย ขอแค่จดจ่ออยู่กับสิ่งที่อ่าน ให้รู้ว่ากำลังอ่านคำว่าอะไร อ่านไปจนกว่าจะรู้ว่าเราเริ่มมีสมาธิ ไม่วอกแวกคิดถึงเรื่องอื่นค่ะ

2) นับ 1-50 หรือ 1-100 ครบแล้วให้นับถอยหลัง

ก่อนเริ่มอ่านหนังสือหรือทำการบ้าน ลองนั่งเฉยๆ ถ้าใครไม่ชอบนั่งสมาธิเพราะกลัวจะหลับ ให้ลองนั่งนับ 1-100 (ไม่ต้องหลับตานะ) แต่ถ้าคิดว่ารวบรวมสมาธิได้เร็วนับถึง 50 ก็ได้ค่ะ เมื่อนับถึงแล้วให้นับย้อนหลัง 100 – 1 แล้วจึงเริ่มอ่านหนังสือหรือทำงาน รับรองว่าคลื่นสมองพร้อมสำหรับการอ่านหนังสือแน่นอน
ระหว่างที่นับ ต้องจดจ่ออยู่กับตัวเลขที่เรากำลังนับในใจ หรือจะเพ่งมองกองหนังสือที่อ่านด้วยก็ได้ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ อย่าให้มีความคิดอื่นเข้ามา เช่น “เอ๊ะวันนี้จะกินอะไรดี” “เอ๊ะพรุ่งนี้สอบวิชาอะไรบ้าง” “เอ๊ะยังไม่คืนตังค์เปิ้ลเลย” ฯลฯ ถ้าคิดขึ้นมาแล้วการนับเลขสะดุดต้องเริ่มใหม่นะคะน้องๆ

3) ฟังเพลงเบาๆ

เพลงเบาๆ ในที่นี้ไม่ใช่ เพลงเบาเบา ของ “Singula” นะคะ 5555 แต่หมายถึงเพลงที่มีดนตรีหรือเนื้อหาเบาๆ ประเภทร็อคเกอร์มาเอง หรือเพลงอกหักฟังแล้วต้องปาดน้ำตา ขอห้ามเด็ดขาด ทางที่ดีควรเป็นเพลงคลาสสิคหรือเพลงบรรเลง ประเภทเสียงไวโอลิน เปียโน เบาๆ หลายคนบอกว่าฟังแล้วน่าห่มผ้าแล้วหลับคาเพลงไปเลย อืม…อันนี้คงต้องฝึกกันหน่อยค่ะ เพราะถ้าเราชินแล้ว จะรู้เลยว่าเพลงบรรเลง เพราะมากและสร้างสมาธิให้เราได้จริงๆ อย่างพี่มิ้นท์เองเวลาทำงานก็เปิดเพลงบรรเลงคลอไปด้วย แต่ก็ไม่ฟังหลังกินข้าวนะคะ เพราะจะหลับเหมือนกัน ฮ่าๆ

4) จดเรียงงานที่ต้องทำหรือที่ต้องอ่าน

เข้าใจว่าบางทีการเจอข้อสอบยากๆ ก็ยังไม่ยากเท่าการเริ่มต้นอ่านหนังสือ เรียกว่ากว่าจะเปิดหนังสือได้แต่ละหน้า ต้องบิ๊วด้วยการเปิดเฟซบุ๊กก่อน ได้คอมเม้นหรือกดไลค์ซักคนสองคนก่อน แต่จะดีกว่ามั้ยถ้าเปลี่ยนจากสิ่งเหล่านี้มาเป็นการจดการบ้านที่ต้องทำหรือหนังสือที่ต้องอ่าน นอกจากจะมีสาระกว่าแล้ว ยังช่วยให้เรารู้ภารกิจที่เราจะต้องทำในแต่ละวัน ซึ่งการนึกและเรียบเรียงหน้าที่แบบนี้ช่วยสร้างสมาธิให้กับเราด้วยนะคะ พอจดเสร็จก็ได้เวลาอ่านพอดี สิ่งที่เราจดไว้ก็เอาใช้เช็คได้อีกว่าเราทำงานนั้นๆ เสร็จไปหรือยัง ประโยชน์หลายต่อแบบนี้ต้องลองเอาไปใช้กันนะ

5) จัดโต๊ะให้น่านั่ง

เชื่อว่าถ้ามีเพื่อนขอไปบ้าน น้องๆ หลายคนคงต้องบอกเพื่อนว่ารอหน้าบ้านแป๊บ ขอจัดของก่อน เพราะที่ใช้ชีวิตอยู่ในห้องทุกวันนี้เสมือนอยู่ในรูหนู รกทุกซอกทุกมุมโดยเฉพาะโต๊ะอ่านหนังสือ บางคนเห็นโต๊ะก็ไม่อยากอ่านแล้ว ลงไปนอนอ่านที่เตียงดีกว่า สุดท้ายหนังสือต้องมาอ่านเราแทน
น้องๆ รู้มั้ยว่าสภาพแวดล้อมมีผลต่อสมาธิในการอ่านหนังสือมากๆ ของที่จัดไม่เป็นระเบียบจะรบกวนการอ่านหนังสือของเรา อ่านไปอ่านมาเจออะไรโผล่ออกมาจากเตียงก็สงสัยละว่ามันคืออะไร จนต้องเข้าไปดู นี่แหละค่ะที่ทำให้สมาธิเราหลุดออกจากสิ่งที่อ่านอยู่ตรงหน้า ดังนั้นก่อนอ่านหนังสือทุกครั้ง ลองจัดโต๊ะให้เป็นระเบียบ แยกหนังสือที่ต้องอ่านออกมาวาง เล่มที่ไม่อ่านวางบนชั้นไว้ก่อน เครื่องเขียนให้พร้อม เช็คแสง เช็คอากาศ แล้วลุยกันเลย
เห็นมั้ยคะว่าสมาธิสร้างไม่ยากเลย ทุกๆ กิจกรรมถ้าเราตั้งใจจดจ่ออยู่กับมัน พยายามไม่คิดถึงเรื่องอื่น เราก็จะเกิดสมาธิได้เองโดยไม่รู้ตัว สำหรับวิธีสุดท้ายที่จะแนะนำคือ ให้หายใจเข้า-ออก ยาวๆ ซัก 2-3 ครั้ง ไว้สำหรับเวลาที่น้องๆ ต้องการสมาธิในช่วงสั้นๆ หรือใช้ในช่วงที่ต้องการกำลังใจค่ะ โดยเฉพาะการพรีเซ้นงานหน้าห้อง ใช้ได้ผลมาแล้วจริงๆ 😀

Credit : http://www.dek-d.com/